ชื่อปริญญา

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล)

ปรัชญา

เพื่อผลิตบัณฑิตทางวิศวกรรมเครื่องกลในระดับปริญญาตรีที่มีคุณภาพและคุณธรรม มีความสามารถในการออกแบบ สร้าง พัฒนา และเป็นผู้ช่วยในงานวิจัยในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลเฉพาะด้าน ได้แก่ การออกแบบเชิงกล การวิเคราะห์ทางอุณหภาพและของไหล หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ นอกจากนี้บัณฑิตยังสามารถประกอบอาชีพวิศวกรร่วมกับวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ในสาขาอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งความสามารถเหล่านี้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม หน่วยวิจัย และพัฒนาทางเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน

ความสำคัญ

เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความรู้รอบ รู้ลึก และมีความสามารถด้านการลงมือปฏิบัติงาน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัยมาประยุกต์ใช้กับงานทางวิศวกรรมเครื่องกล เพื่อให้บัณฑิตมีพื้นฐานที่ดีและเพียงพอต่อการร่วมทำงานวิจัย และนำไปต่อยอดเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์

วัตถุประสงค์

  • (1) เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถพัฒนาองค์ความรู้ผ่านกระบวนการทำงาน การพัฒนาวิชาชีพ หรือการฝึกฝนผ่านการอบรมและประสบการณ์จากการทำงาน
  • (2) เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิศวกรรม เทคโนโลยี การคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้วยหลักจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
  • (3) เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีทักษะการสื่อสารในการทำงาน และสามารถทำงานร่วมในกลุ่มที่เป็นสหวิทยาการทั้งบทบาทผู้นำและผู้ร่วมกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • (4) เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตใฝ่รู้ในการศึกษาซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต และปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PO 1 : ประยุกต์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลและความรู้เฉพาะทางวิศวกรรมเครื่องกลเพื่อกำหนดกรอบความคิดของแบบจำลองทางวิศวกรรมเครื่องกล วิธีการ กระบวนการ หรือระบบงานทางวิศวกรรมเครื่องกลในการทำงานได้
  • PO 2 : วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมเครื่องกลได้
  • PO 3 : ออกแบบและพัฒนาเพื่อหาคำตอบของปัญหาทางวิศวกรรมที่มีความซับซ้อน ให้ได้ตามข้อจำกัดที่มีอยู่จริง เช่น ทางด้านสังคม ความปลอดภัย การอนามัยและสิ่งแวดล้อม หรือมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ
  • PO 4 : พิจารณาตรวจสอบ ประเมินผลงาน และปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน ซึ่งครอบคลุมถึงการตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง การวิเคราะห์ การแปลความหมายข้อมูล เพื่อให้ได้ผลสรุปที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล
  • PO 5 : เลือกใช้อุปกรณ์เครื่องมือทันสมัยที่มีความเหมาะสม โดยคำนึงถึงข้อกำหนดและข้อจำกัดของเครื่องมือและอุปกรณ์นั้น
  • PO 6 : ทำงานร่วมในกลุ่มที่เป็นสหวิทยาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • PO 7 : ติดต่อสื่อสารในงานวิศวกรรม วิชาชีพอื่น และบุคคลทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • PO 8 : ประเมินผลกระทบต่อการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมต่อบริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อม และสามารถประเมินผลกระทบของการแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • PO 9 : อธิบายคุณค่าของจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพและยึดถือตามกรอบมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ
  • PO 10 : วิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์ การลงทุน และการบริหารงานวิศวกรรมเครื่องกล
  • PO 11 : พัฒนาตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีพได้